Speed of Trust กับ กฎแรงดึงดูด with Simon Sinek and Stephen M.R. Covey

0
1811

เมื่อไม่กี่วันมานี้ Simon Sinek (ผู้แต่งหนังสือ Best Seller ทั้ง Start with Why และ Find your Why) เพิ่งปล่อยคลิปวีดีโอสั้นๆ พูดถึง เรื่อง “Performance vs Trust” (ตามไปดูได้ทีนี่ http://bit.ly/2CNftxr ) โดยสรุป Simon ได้วาด 2-by-2 matrix diagram ระหว่าง Performance vs Trust

2by2 Matrix: Performance and Trust
2by2 Matrix: Performance and Trust

โดยอุดมคติแล้ว ทุกองค์กร ย่อมอยากได้บุคลากรที่ Hi Perf./Hi Trust (ตามรูป เลข 1) และไม่อยากได้บุคลากรที่ Low Perf./Low Trust (ตามรูป เลข 2)

แต่คำถามสำคัญ คือ องค์กร อยากได้บุคลากรแบบไหนมากกว่ากัน ระหว่าง กลุ่ม Hi-Perf./Low Trust (ตามรูป เลข 3) กับ กลุ่มMedium (or even Low) Perf./Hi Trust (ตามรูป เลข 4)

จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องเข้าใจกับคำว่า Trust ก่อน

เป็น “กฎแรงดึงดูด” หรือ ความบังเอิญ ก็มิอาจรู้แน่ชัด แต่หลังจาก คลิปของ Simon Sinek เผยแพร่ได้สองวัน ผมก็ได้มีโอกาสไป เข้าร่วมงาน “Simple to Grow: Growing @ the Speed of Trust” ที่ทางบริษัทจัดขึ้น โดยเชิญ คุณ Stephen M.R. Covey (ผู้แต่งหนังสือ Best Seller “The Speed of Trust” และ เป็นลูกชายของ Dr. Stephen R. Covey ผู้แต่ง The 7 Habits อันโด่งดัง) มาเป็นผู้บรรยาย

Trust คือ ความไว้วางใจ, Trust ประกอบด้วยสองส่วน คือ ตัวตน (Character) และ ความสามารถ (Competence), เราต้องขยายความไว้วางใจของเราออกไป เพื่อจะได้รับความไว้วางใจกลับมา เริ่มจาก ตนเอง (Self) > ความสัมพันธ์ (Relationship) > องค์กร (Organization) > ตลาด (Market) > สังคม (Society)

องค์กรที่มี Hi-Trust แล้วดีอย่างไร?

  • Low-Trust ทำให้เกิด Low-Speed & Hi-Cost
    • เช่น ผู้ผลิตส่งของไปที่พ่อค้าคนกลาง นับของ-ตรวจของ จากนั้นพ่อค้าคนกลางส่งไปที่บริษัทขนส่ง ซึ่งก็ต้องนับของ-ส่งของอีกรอบหนึ่ง ก่อนที่จะส่งไปที่ลูกค้าปลายทาง ทำให้ทั้งช้า และ ต้นทุนสูง
  • Hi-Trust ทำให้เกิด Hi-Speed & Low-Cost
    • เช่น ผู้ผลิตส่งของตรงไปที่ลูกค้าปลายทางเลย เป็นกระบวนการที่ Hi-Trust ที่ทั้ง เร็ว และ ต้นทุนต่ำกว่า

เปรียบเทียบการบริหารแบบ Low-Trust vs Hi-Trust

Command & Control Trust & Inspire
Manage People and Things Manage Things, Lead People
Compliance (Follow the Rules) Commitment (Do the Right Thing)
Transactional Transformational
Bureaucracy & Complexity Agility & Simplicity
Status Quo & Incrementalism Change & Innovation
Coordination among Groups Collaboration among Teams
Control Release, Unleash
Motivation (External) Inspiration (Internal)

ข่าวดีคือ Trust เป็นทักษะที่สามารถเรียนรู้ได้ ทั้งในส่วนของ ตัวตน (Character) และ ความสามารถ (Competence)

เรียนรู้และพัฒนาทักษะ ผ่านทาง 13 พฤติกรรมดังนี้

13 Behaviors of High-Trust Leaders

ในเมื่อมี Hi-Trust แล้วมันดีอย่างนี้ แล้วถ้าเปรียบเทียบคนที่ Hi-Perf./Low-Trust vs Medium (or Low) Perf./Hi-Trust ล่ะ เราควรจะเลือกคน หรือ ทีมงานแบบไหน

Simon Sinek บอกว่า หลุมพราง ก็คือ กลุ่มคนที่ Hi-Perf. นั้นมองเห็นได้ง่าย และ องค์กรส่วนใหญ่ มักจะให้รางวัลกับคนกลุ่มนี้ ในขณะที่ กลุ่มคนที่ Hi-Trust นั้นวัดผลยาก (แต่มองเห็นได้) อย่างไรก็ดีวิธีง่ายๆ ที่จะหากลุ่มคนที่ Hi-Perf./Low-Trust ก็คือ ให้ไปถามทีมงาน หรือ เพื่อนร่วมงาน ว่าคนไหนในทีม คือ “ตัวแสบ” (Simon ใช้คำว่า asshole เลยนะ) คนนั้นแหละ Hi-Perf./Low-Trust ในขณะที่การหาคนกลุ่ม Hi-Trust ทำได้โดยถามทีมงาน หรือ เพื่อนร่วมงาน ว่าใครที่คุณพร้อมจะร่วมหัวจมท้ายไปด้วยกัน ใครที่คอยช่วยเหลือคุณเสมอเวลาคุณมีปัญหา หรือ เดือดร้อน คนกลุ่มนั้นแหละ “Hi-Turst”

อ่านมาถึงตรงนี้ คงถึงบางอ้อแล้ว ว่า Simon เลือกกลุ่มคนแบบไหน แล้วคุณล่ะลองนึกในใจดูว่าใครเป็นพวก Hi-Perf./Low-Trust และ ใครที่เป็นพวก Hi-Trust

ด้วยรักและห่วงใย

สัณฑ์ คุณะวัฒนากรณ์

12 พฤศจิกายน 2562

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here